|
ข่าวประชาสัมพันธ์ |
|
ข่าวงาน
"เลี้ยงหมาดีไม่มีกัด"
วันที่ 25
สิงหาคม 2545
เวลา 07.00 - 14.00 น.
ณ
ห้างสรรพสินค้าสยามจัสโก้
ถนนรัตนาธิเบศร์
จังหวัดนนทบุรี
จัดโดย
กองโรคติดต่อทั่วไป
กรมควบคุมโรคติดต่อ
กระทรวงสาธารณสุข
|
|
โครงการลดความเสี่ยงจากการถูกสุนัขกัด
(National Dog Bite Prevention Project)
|
|
หลักการ
และเหตุผล
ตามที่กรมควบคุมโรคติดต่อ
กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมมือกับกรมปศุสัตว์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ดำเนินการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า
เพื่อไม่ให้มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย
แม้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจะลดลงมาได้ระดับหนึ่ง
คือในปี 2544
มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า
37 ราย
แต่จำนวนผู้ถูกสุนัขบ้า
หรือสงสัยว่าบ้ากัดกลับเพิ่มขึ้นทุกปี
ในปี 2544
มีรายงานผู้ถูกสุนัขกัดแล้วมารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
เฉพาะรายงานจากหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขกว่า
350,000 ราย (ไม่รวม กทม.
ทบวงมหาวิทยาลัย
และโรงพยาบาลเอกชนอื่น
ๆ)
ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่ากว่า
700 ล้านบาท
ทั้งนี้
ยังมีผู้ถูกสุนัขกัดที่แท้จริงในแต่ละปีที่ไม่ได้รายงานอีกเป็นจำนวนมาก
ซึ่งผู้ถูกสุนัขกัดส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุ
5-9 ปี
รองลงมาเป็นเด็กเล็กต่ำกว่า
4 ปี และเด็กอายุ 10-14
ปี บางส่วนผู้ถูกทำร้ายเป็นผู้สูงอายุ
สุนัขที่กัดคนมีที่ทั้งสุนัขมีเจ้าของ
และสุนัขไม่มีเจ้าของ
ถ้าพิจารณาความเสียหายทั้งแง่มุมทางเศรษฐกิจและสาธารณสุขแล้วนับว่าปัญหาคนถูกสุนัขกัด
หรือสุนัขกัดคนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอันดับต้น
ๆ
ของประเทศ
จำนวนผู้บาดเจ็บจากการถูกสุนัขกัด
หรือชนมีทั้งบาดแผลเล็กน้อยไปจนถึงบาดแผลฉกรรจ์เป็นแผลลึก
และอยู่ในตำแหน่งอันตราย จึงสมควรที่จะได้มีการรณรงค์ลดจำนวนคนที่บาดเจ็บจากสุนัขโดยประชาสัมพันธ์ให้เจ้าของสุนัขเลี้ยงสุนัขอย่างถูกต้อง
และมีความรับผิดชอบมากขึ้น
รวมทั้งครู
หรือผู้ปกครองเด็ก
สอนและดูแลเด็กให้ระมัดระวังในการเล่นกับสุนัข
หากเจ้าของสุนัขและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้วยแล้วจะมีส่วนช่วยในการทำให้อุบัติการณ์คนถูกสุนัขกัดน้อยลง
ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายต่าง
ๆในการรักษาพยาบาลลงอย่างมาก
รวมทั้งลดความเสี่ยงจากโรคพิษสุนัขบ้า
และค่าวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าลงด้วยในการนี้
กรมควบคุมโรคติดต่อ
กระทรวงสาธารณสุข
กรมปศุสัตว์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ร่วมมือกับคณะสัตวแพทย์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้จัดทำโครงการลดความเสี่ยงจากการถูกสุนัขกัด
|
|
วัตถุประสงค์
|
- เพื่อสร้างจิตสำนึกให้เจ้าของสุนัขมีความรับผิดชอบต่อสุนัขของตน
ระมัดระวังไม่ให้สุนัขไปกัดคนอื่น
- เพื่อสร้างความตื่นตัว
และกระตุ้นผู้ปกครองให้ดูแลบุตรหลานให้ระมัดระวังในการเข้าใกล้
หรือเล่นกับสุนัข
|
เป้าหมาย |
-
ลดอุบัติการณ์ผู้ได้รับบาดเจ็บจากสุนัข
|
ประชากรเป้าหมาย
|
- เจ้าของผู้เลี้ยงสุนัข
- ผู้อุปการะสุนัขจรจัด
- ผู้ปกครองเด็ก
- เด็กอายุ
5 - 9 ปี
|
การดำเนินการ |
ระยะที่
1 (ปี 2545)
|
- สร้างความเข้าใจโครงการให้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ปศุสัตว์
- ปลุกจิตสำนึกประชาชน
เรื่อง
ความรับผิดชอบสุนัขที่เลี้ยง
การดูแลเด็ก
|
ระยะที่
2 (ปี 2546 - 2548)
|
- รณรงค์หลีกเลี่ยงการถูกสุนัขกัด
(dog bite Avoidance)
ในกลุ่มเป้าหมายหลัก
คือ
เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น,
เด็กอนุบาล
และผู้สูงอายุ
- ประชาสัมพันธ์การปฏิบัติตนเมื่อถูกสุนัขกัด
(Dog bite safety)
- รณรงค์ให้เจ้าของสุนัขเลี้ยงสุนัขอย่างถูกต้อง
และรับผิดชอบ
รวมทั้งรู้วิธีปฏิบัติหากสุนัขของตนไปกัดผู้อื่น
- รณรงค์คุ้มครองสิทธิของคนที่ถูกสุนัขทำร้าย
- รณรงค์ลดความเสี่ยงจากสุนัขจรจัด
โดยการทำหมัน
ฉีดยาคุมกำเนิด
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
และหาบ้านใหม่ให้คนเอาสุนัขไปเลี้ยง
พร้อมทั้งไม่
นำสุนัขไปปล่อย
- ให้ความรู้ด้านกฏหมายที่เกี่ยวข้องแก่ประชาชน
|
ระยะที่
3 (ปี 2549)
|
|
กิจกรรม |
ระยะที่
1 (ปี 2545)
|
- ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
และปศุสัตว์
- ประชาสัมพันธ์โครงการฯ
เช่น
การจัดประกวดภาพวาด
หัวข้อ "เด็กกับสุนัข"
- จัดงานวันเปิดตัวโครงการฯ
โดยมีกิจกรรมเผยแพร่
-ทดสอบสุนัขนิสัยดีพร้อมทั้งออกใบรับรอง
-จัดเวทีการมีส่วนร่วมของชุมชน
-มีการจัดกิจกรรมต่าง
ๆ
ส่งเสริมการเลี้ยงสุนัขนิสัยดี
|
ระยะที่
2 (ปี 2546 - 2548)
|
- อบรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก
และผู้สูงอายุ
เช่น
ครูชั้นประถมศึกษาตอนต้น
ครูอนุบาล
ผู้ปกครองเด็ก
ผู้อุปการะผู้สูงอายุ
- จัดทำโปสเตอร์
เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าของสุนัข
และสิทธิของคนถูกสุนัขกัด
- เผยแพร่ความรู้ทาง
วิทยุ
โทรทัศน์
รวมทั้งจัดประกวดบทความ
คำขวัญ
หรืออื่น
ๆ
ตามความเหมาะสม
- ทดสอบสุนัขนิสัยดี
พร้อมทั้งออกใบรับรองสุนัขนิสัยดีที่ผ่านการทดสอบคัดเลือกใน
8 ด่าน
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
ยาคุมกำเนิด
ทำหมันสุนัขไม่มีเจ้าของฟรี
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
สุนัขมีเจ้าของราคาถูก
- ให้ข่าวเผยแพร่เชิญชวนให้ทุกคนรณรงค์ดูแลสุนัข
และเด็กให้ปลอดภัยจากการถูกสุนัขกัด
รวมทั้งจัดแถลงผลงานเป็นระยะ
ๆ
- จัดสัปดาห์รณรงค์ปีละครั้ง
|
ระยะที่
3 (ปี 2549)
|
|
พื้นที่ดำเนินการ |
-
ระยะที่
1จังหวัดนนทบุรี
-
ระยะที่
2ขยายผลให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
(ปรับขยายตามความเหมาะสม)
-
ระยะที่
3ประเมินผล
|
หมายเหตุ รายละเอียด
วิธีดำเนินการในแต่ละปีจะปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ของสภาพปัญหาตามความเหมาะสม
|
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
|
- จำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าลดลง
- ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการบาดเจ็บจากสุนัขทั้งทางตรง
และทางอ้อม
- กระตุ้นให้สังคมสนใจในการลดจำนวนสุนัขที่ไม่มีคนรับผิดชอบ
|
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
|
ส่วนกลาง
|
- กรมควบคุมโรคติดต่อ
กระทรวงสาธารณสุข
- กรมปศุสัตว์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- คณะสัตวแพทย์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
- สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
|
ส่วนภูมิภาค
|
- สำนักงานควบคุมโรคติดต่อเขต
- สำนักงานปศุสัตว์เขต
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
- สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด
|
หน่วยงานที่ร่วมรณรงค์
|
- สถานเสาวภา
สภากาชาดไทย
- สมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
- สัตวแพทย์สมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- องค์กรปกครองท้องถิ่น
- องค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง
และสนใจที่จะร่วมดำเนินการ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ชมรมผู้เลี้ยงและผู้ฝึกสุนัข
เอส.เจ.ฯ/K-9 |
|
|
|