|
สัมภาษณ์พิเศษ |
|
พ.ต.ท.ภาสวัชร ศรีทัย
รองผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ
กองบัญชาการศึกษากรมตำรวจ
ที่ปรึกษา สสยท.
|
|
|
|
พ.ต.ท.ภาสวัชร
ศรีทัย รองผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการกองบัญชาการศึกษา
กรมตำรวจ เคยทำงานรับราชการอยู่ในกองกำกับการสุนัขตำรวจมามากกว่า
25 ปี เป็นผู้ที่วางหลักสูตร และดูแลพฤติกรรมสุนัขตำรวจ เรียนจบสัตวแพทย์เมื่อปี
พ.ศ. 2510 ในปี พ.ศ. 2513 ได้เข้ามาอยู่กองกับการสุนัขตำรวจ
ตำแหน่งเป็นสัตวแพทย์ประจำ และเริ่มสนใจเกี่ยวกับการฝึก
และพฤติกรรมของสุนัข ได้มีโอกาสไปศึกษาในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ
เยอรมัน อเมริกา นิวซีแลนด์ ออสเตรีย
และได้เขียนหลักสูตรต่าง ๆ
ไว้ใช้ในราชการสุนัขตำรวจ เช่น การสะกดรอยติดตาม
การต่อสู้ป้องกันตัว การจับกุมยาเสพติด สุนัขควบคุมฝูงชน
แยกกลิ่นของกลาง สุนัขตรวจค้น สุดท้ายก็คือ วางหลักสูตรช่วยชีวิต
และค้นหา เป็นผู้บุกเบิกการก่อตั้ง สสยท.
และร่วมเป็นกรรมการบริหารอยู่ประมาณ 2 - 3 ปี
ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาของ สสยท.
กรรมการบริหารสมาคมพัฒนาสุนัขพันธุ์ไทย และกรรมการตัดสินของ
A.K.U. (สมาคมสุนัขเอเชีย)
ซึ่งขึ้นทะเบียนไว้กับ FCI
(สมาคมสุนัขโลก)
และยังทำหน้าที่เป็นกรรมการตัดสินการประกวดมาตรฐานพันธุ์สุนัขทั่วไปอีกด้วย
ท่านคิดว่า
ร.ร. สุนัขมีการพัฒนามากกว่าแต่ก่อนอย่างไรครับ?
"ร.ร.
สุนัขในยุคนี้มีการพัฒนาปรับปรุงมากกว่าสมัยก่อน
ผู้บริหารบางแห่งได้มีการเดินทางไปดูงานฝึกสุนัขที่ต่างประเทศ
การฝึกสุนัขถ้าหากมีความสนใจ ทุก ๆ คนก็สามารถจะเรียนรู้
และฝึกสุนัขได้ เว้นแต่ว่า ใครจะประณีต
หรือรู้รายละเอียดในส่วนลึกมากกว่ากันเท่านั้น" |
|
|
การเลือกบุคลากรมาเป็นครูฝึก ท่านคิดว่า มีความสำคัญหรือไม่ครับ?
"บุคคลที่จะมาเป็นครูฝึกที่ดีได้นั้น
จะต้องเป็นที่รักสุนัข มีความเมตตา อ่อนโยน และอดทน
สุนัขเป็นสัตว์ชนิดเดียวที่เข้าใจคนมากที่สุด
สิ่งที่เราจะยึดถือเป็นหลักเกณฑ์คือ
ผู้ฝึกสุนัขจะต้องมีความนับถือในความเป็นสุนัข ( Respect
) ที่เราฝึก เอาใจใส่ ไม่ทำร้ายทุบตี
และมีการให้กำลังใจ"
ท่านคิดว่า
ร.ร. สุนัขที่ดีควรเป็นอย่างไรครับ?
"เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก
สุนัขจะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้จากสิ่งแวดล้อม ร.ร. สุนัขที่ดี
จะต้องมีบริเวณกว้างขวาง มีร่มไม้ชายคาที่ดี
มีความใกล้เคียงกับธรรมชาติ
ไม่ให้มีบรรยากาศที่กดดันให้สุนัขเกิดความเครียด" |
|
|
ยุงเป็นอันตรายต่อสุนัขหรือไม่ ในความเห็นของท่านครับ?
"ในประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีโรคพยาธิหัวใจ
หรือหนอนหัวใจจากสุนัขเร่ร่อนชุกชุมมาก
ห้องนอนสุนัขที่ดีจึงควรจัดให้มีมุ้งลวด
เพื่อป้องกันโรคในส่วนนี้ด้วย"
ในความเห็นของท่าน การสอบสุนัข FH
มีความยากแค่ไหนครับ?
"การสอบสุนัขจะแบ่งเป็นสุนัขอารักขา
Sch H I
(ชุท 1) Sch H II (ชุท 2)
Sch H III (ชุท 3)
และFH
เราต้องดูว่าสุนัขของเรามีความสามารถถึงขั้นไหน
สุนัขที่สามารถสอบผ่านขั้น 1 ก็ใช้ได้แล้ว (ชุท 1)
ขั้น 2 ก็โอ.เค. (ชุท 2) ขั้นต่อไป
ถึงไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ามีแววสอบได้ขั้นสูงขึ้นไปอีกก็ยิ่งดี
เพราะเท่ากับเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับสุนัข การสอบสุนัขสะกดรอย
FH ถือว่าเป็นการสอบขั้นสูง และยาก
เพราะมีระยะทางและมีเวลาเป็นตัวกำหนด"
"ฮุกกี้" สุนัขพันธุ์นโปเลียนมัสตีฟ
เพศผู้ อายุ 16 เดือน เจ้าของ/ผู้ปกครอง คุณมนตรี แซ่ลี้
จาก
K9
พัทยา คือสุนัขตัวแรก และตัวเดียวในประเทศไทย ที่สอบผ่านสุนัขสะกดรอย
FH I
ได้คะแนน
82/100 เมื่อวันที่ 26/3/43 กรรมการตัดสิน คุณบัญญฑิต สรัสยะนันทน์
เลขานุการ สสยท. |
|
|
|
|
|
|
|
|
ชมรมผู้เลี้ยงและผู้ฝึกสุนัข
เอส.เจ.ฯ/K9 |
|
|
|